โรงเรียนวัดกงตาก

หมู่ที่ 4 บ้านบ้านกงตาก ตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี 84160

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

077-400267

director

นายสุขสวัสดิ์ จิตติอาภรณ์
ผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดกงตาก

Previous slide
Next slide

ประวัติ โรงเรียนวัดกงตาก

โรงเรียนวัดกงตาก เลขที่ 6/6 หมู่ที่4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์   จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84160 โทรศัพท์ 077-400267 โทรสาร077-400267 เปิดสอนระดับชั้น อนุบาล ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเขตพื้นที่บริการ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4, 5, 7, 12      ตำบลช้างซ้าย อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          นายยก   ฉิมระวี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 และนายเปรม  อินทร์เตรียะผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมมือกับประชาชนปรับที่ดินที่ติดกับบริเวณวัดกงตาก ซึ่งเป็นที่ลุ่มมีร่องน้ำสร้างอาคารเรียนชั่วคราว มุงสังกะสี 1 หลัง เพื่อทำการเรียนการสอน  ก่อตั้งและเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2481  ใช้ศาลาวัดกงตากเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน เป็นความคิดริเริ่มของนายนุ่น  แก้วกำเนิด ธรรมการอำเภอกาญจนดิษฐ์ และนายส่อง  รักษ์จินดา ครูใหญ่โรงเรียนวัดปากคู ใช้ชื่อว่า”โรงเรียนประชาบาลตำบลช้างซ้าย 2 (วัดกงตาก)” เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1  ถึงชั้นระถมปีที่ 4  นักเรียนทั้งหมด 46  คน มีครู 2 คน นายเหี้ยม  วิชัยดิษฐ์ เป็นครูใหญ่คนแรก  นายสม  ศรีรักษ์ เป็นครูน้อย

            4  เมษายน  2495  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น  โรงเรียนวัดกงตาก

            16  สิงหาคม  2501 นายภิญโญ  แซ่ฉายรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ได้ปรึกษากับนายผ่อน  พรหมทวด กำนันตำบลช้างซ้าย เพื่อย้ายไปปลูกโรงเรียนชั่วคราวใหม่ทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่วัดแบ่งให้ ทำเสร็จวันที่ 26 สิงหาคม  2501                                                                                       

              2509 โรงเรียนประชาบาลได้รับโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพร้อมกันทั่วประเทศ โรงเรียนวัดกงตากได้รับโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2509

            1  มกราคม  2519  นายสุรินทร์  สงพรหม  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ได้รับงบประมาณมาสร้างอาคารเรียนแบบ บ 1 ข. 3 ห้องเรียน ปลูกเรียงต่อจากอาคารเรียน 1 ไปทางทิศตะวันตกเป็นอาคารหลังที่ ๑ ชื่อ “รัตน์ประสม” แต่ตัดเพดาน ประตูและหน้าต่างออก

            1 ตุลาคม 2523  โรงเรียนได้รับการโอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่เทียบเท่ากรมในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

            13  พฤศจิกายน  2527  โรงเรียนได้รับมอบอาคารเรียนแบบสปช 105 ใต้ถุนโล่งมี 4 ชั้นเรียน 

             26  มีนาคม  2528  ทางโรงเรียนได้ซื้อที่ดินของนางเลี้ยน  พิชกรรมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกติดกับที่ดินของโรงเรียนกว้าง 1  วา ยาวไปตามเนื้อที่ของโรงเรียนจากเหนือไปใต้ยาว 3 เส้น

            ปีการศึกษา 2535 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้อนุญาตให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษารุ่นที่ 1 จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน  1 ห้องเรียน และขยายเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ในปีการศึกษา2536 และปีการศึกษา 2537 ตามลำดับ

            7 กรกฎาคม 2546 ทางราชการได้ประกาศกำหนดให้ปฏิรูประบบราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้โรงเรียนวัดกงตากได้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี  เขต 1 และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 4 ช่วงชั้น ได้แก่ ปฐมวัย  ช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 และ ช่วงชั้น ที่ 3 จนถึงปัจจุบัน  มีเขตบริการ 4 หมู่บ้าน คือหมู่ที่4, หมู่ที่5, หมู่ที่7 และหมู่ที่ 12 

วิสัยทัศน์

  “ยิ้มง่าย  ไหว้สวย”

พันธกิจ

1. การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษา

2. ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

3. ปรับปรุงระบบการวัดและประเมินผลผู้เรียน

4. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตสำนึกความเป็นไทยและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

6. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการเพิ่มขึ้น

7. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการผลิตสื่อและใช้สื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

8. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโดยส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะบุคคล เครือข่ายสถานศึกษาและชุมชน

9. พัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและยึดหลักธรรมาภิบาล

10. การสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยพัฒนาระบบการศึกษานักเรียนรายบุคคลและพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อให้นักเรียนเรียนจบภาคบังคับ

เป้าประสงค์

1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการศึกษา

2. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม สำนึกความเป็นไทย ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีนิสัยใฝ่รู้และมีความสามารถคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์

4. ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

5. ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีความพร้อมในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

6. ครูมีศักยภาพและสมรรถนะเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

7. ครูมีทักษะในการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

8. ครูรักและศรัทธาต่อองค์กรและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ

9. โรงเรียนมีสื่อ นวัตกรรมแหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและ             มีสภาพแวดล้อมเอื้อ ต่อการจัดการเรียนรู้

10. โรงเรียนมีระบบสารสนเทศถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน สะดวกในการสืบค้นข้อมูลและสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. ครู ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง          มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

12. ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน

กิจกรรมโรงเรียน

ข่าวประชาสัมพันธ์